สังคหวัตถุ-4-หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขคือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ สมานัตตา โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้
สัปปุริสธรรม 7
ธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ หรือ เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นคนเก่ง มี 7 ประการ ด้วยกัน คือ 1. ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ 2. อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล 3. อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน 4. มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ 5. กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล 6. ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน 7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล
ทศพิธราชธรรม
ธรรมของนักปกครองหรือผู้นำในทุกยุคทุกสมัย เหมาะสำหรับการปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานไว้เป็นแนวทางในการปกครองหมู่คณะ ให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกทั้งผู้นำและผู้ตาม
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - สนทนาอย่างบัณฑิต
"ดูก่อนมหาบพิตร ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างบัณฑิต อาตมภาพก็พร้อมจะสนทนากับมหาบพิตร แต่ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างของพระราชา อาตมาก็จักไม่สนทนาด้วย" พระยามิลินท์ตรัสถามว่า “บัณฑิตทั้งหลายสนทนากันอย่างไร”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - มาฟังธรรมกันเถิด
ความรู้ที่เกิดจากการฟังธรรมของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความรู้อันบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากใจที่หยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ ที่ท่านเรียกว่าการตรัสรู้ธรรม ยิ่งได้ยินได้ฟังและ นำไปประพฤติปฏิบัติตามมากเพียงไร ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป เพราะปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทำอย่างไรได้อย่างนั้น
บางคนมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง คิด ว่าบุญบาปไม่มี เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงไม่เชื่อเรื่องบุญกุศล แต่ผู้รู้ทั้งหลาย ได้พิสูจน์แล้วว่า บุญบาปมีจริง เป็นของละเอียดที่รู้เห็นได้ด้วยธรรมกายเท่านั้น สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งเกินกว่าวิสัยของปุถุชนจะคิดเองได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เป็นอจินไตย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ ไม่ควรคิด ผู้ใดคิด ผู้นั้นพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า"
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - คู่ทุกข์ - คู่ยาก
คุณธรรมอีกอย่างหนึ่งที่พึงมี คือ ทั้งคู่ต้องมีปัญญาเสมอกัน ตั้งแต่ใช้เหตุใช้ผล ใช้สติมากกว่าอารมณ์ ไม่ตามใจตนเองจนดื้อรั้นเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจกัน ต้องพูดกันรู้เรื่อง มีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข ไม่นิ่งดูดายในปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ ชีวิตคู่จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีความสุข แม้ในยามที่มีภัย ชีวิตก็สละแทนกันได้
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฎฐิ (๙)
พระเจ้าอังคติราชสดับเช่นนั้นแล้ว เกิดความสลดสังเวช กลัวที่จะต้องไปบังเกิดในมหานรก จึงตรัสว่า "บัด นี้ ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤๅษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เสมือนกับน้ำดื่มแก้กระหายในเวลากระหายน้ำ ขอท่านจงเป็นเหมือนเกาะเป็นที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และขอท่านจงเป็นเหมือนประทีปส่องสว่างในที่มืดของข้าพเจ้าด้วยเถิด
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๖ )
ข้าพเจ้านั้น จะเว้นจากความเป็นคนตระหนี่ในวันนี้แหละ อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงกระทำบาปอะไรอีกต่อไป การไม่ให้สิ่งของอะไร จะไม่มีแก่ข้าพเจ้าอีกต่อไป วันใดข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้ วันนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ยอมกินข้าว